top of page

EP9: การหาตำแหน่งฟังที่ดีที่สุดภายในห้อง (Ideal Speakers & Listening Positions)

โดยใช้หลักการ 3 ข้อ

1. Rule of 1/3 RDS

2. Room Response

3. Critical Distance

- Rule of 1/3: เริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน(ตามลักษณะความยาวห้อง) ตำแหน่งของจุดวางเริ่มต้นของลำโพงซ้าย-ขวาจะอยู่บนแนวของเส้นแบ่ง 1/3 เส้นแรกโดยถัดมาตำแหน่งนั่งฟังจะอยู่บนเส้นแบ่ง 2/3 ตำแหน่งทั้งสองนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นคร่าวๆก่อนมีการปรับละเอียดต่อไป

- Room Response: ขั้นตอนต่อมาในการหาตำแหน่งฟังที่ดีที่สุดในห้อง ให้ทำการเปิดเล่น Pink noise ผ่านระบบเสียงและลำโพงทั้งสองที่อยู่บนเสัน 1/3 โดยให้วางตำแหน่งไมโครโพนไว้ที่จุดนั่งฟั่ง (2/3) หลังจากนั้นให้ดูการตอบสนองของคลื่นเสียงแต่ละความถี่ตำแหน่งนั่งฟังนั้นว่าเป็นอย่างไร ให้ปรับตำแหน่งลำโพงทั้งสองทั้งซ้ายและขวาในลักษณะสมมาตรแข้า-ออกจากผนังทั้งด้านหน้าและผนังด้านข้าง และดูว่าจาก curve response ณจุดรับฟัง ตำแหน่งไหนของลำโพงให้ค่า room response ที่ดีที่สุด

- Critical Distance: เป็นจุดที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากผนังทุกๆด้านภายในห้อง ซึ่งโดยทั่วไป ตำแหน่ง critical distance จะอยู่ไปทางด้านหลังของเสันแบ่งที่ 2/3 ประมาณ 30-45ซม.

หลังจากนั้นให้ทำการฟังทั้งสามตำแหน่งเปรียบเทียบกันเพื่อหาตำแหน่งนั่งฟังที่ดีที่สุดของห้องเรา

ข้อควรปฎิบัติละข้อห้ามในการทำห้องโฮมเธียเตอร์/ฟังเพลงที่ดี (Do's and Don'ts of Room Setup for Home Cinema Room).

- ระยะห่างของลำโพงหลักซ้าย-ขวาจากผนังด้านข้างต้องมีระยะห่างที่เท่ากัน เรื่องนี้สำคัญมากทั้งนี้เพราะ เสียงเป็นพลังงานที่อัตราความเร็วคงที่ (343 เมตร/วินาที ในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25C). ระยะทางเคลื่อนที่ของเสียงกระทบผนังข้างแล้ววิ่งมาหาจุดตำแหน่งฟัง หากไม่เท่ากันจะก่อให้เกิด time frame ที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีผลต่อตำแหน่งของเสียงและ soundstage ต่อผู้ฟัง

- ระยะของห่างของลำโพงหลักจากผนังด้านหลังต้องมีระยะที่เท่ากัน

- วัสดุที่ใช้ทำผนังทั้งสองด้านควรเป็นวัสดุชนิดเดียว ความแข็งอ่อนของผนังที่เหมือนกัน และหลีกเลี่ยงผนังที่เป็นกระจกภายในห้องฟังเพราะจะเกิดผลกระทบต่อคุณภาพของเสียงอย่างมาก

- ไม่ควรให้มีมุมหลบ (cavity chamber) ในผนังด้านใดด้านหนึ่งในห้อง เพราะช่องว่างดังกล่าวจะทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า room mode รวมทั้ง acoustic distortion ทำตัวเสมือนเป็นแหล่งกำเนิดอีกจุดภายในห้อง

ปล: ท่านใดมีข้อเสนอแนะ ต้องการสอบถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถcomment ด้านล่างได้เลยครับ.

การแก้ปัญหาให้ได้เสียงเบสที่ดีในห้องขนาดเล็ก

เสียงเบสเป็นช่วงความถี่ที่มีปัญหาในเกือบทุกห้องฟังเพลงหรือโฮมเธียเตอร์ โดยเฉพาะห้องที่มีขนาดเล็กจะมีปัญหาความถี่ต่ำนี้มากกว่าห้องที่มีขนาดใหญ่ที่เราสามารถจะจัดการปัญหาได้ง่ายกว่า แต่ความคิดและวิธีการจากนี้จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงปัญหาได้อย่างดีซึ่งประกอบด้วย

- สิ่งแรกที่เราต้องเข้าดู, คำนวณและจัดการคือขนาดปริมาตรและสัดส่วนของห้อง(กว้างxยาวxสูง) ซึ่งสัดส่วนความยาวทั้งสามนี้จะเป็นให้ปัญหา wave length ของความถี่ต่ำณช่วงความถี่บางความถี่ ซึ่งหากกรณีที่ห้องจัดอยู่ระหว่างการก่อสร้าง สัดส่วนที่เหมาะสม (Golden ratio) จะมีส่วนอย่างมากในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาช่วงความถี่ต่ำ ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างหรือกำหนดขนาดห้องให้มีความยาวมากกว่าความยาวคลื่นความถี่ต่ำ (9เมตร) จะทำให้ปัญหาจะเกิดขึ้นมีปริมาณน้อยและง่ายต่อการแก้ไข

- กำหนดหรือเลือกใช้ขนาดของ Subwoofer ที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง เราไม่ควรใช้ woofer ขนาดใหญ่ที่สร้างพลังงานจำนวนมากในห้องขนาดเล็ก ซึ่งห้องนั้นๆไม่สามารถจัดการกับพลังงานเหล่านั้นได้ หรือใช้ woofer ขนาดเล็กกับห้องขนาดใหญ่ ทั้งขนาดห้องและขนาดของ woofer ต้องเหมาะสมกัน ตย.ขนาดของ woofer 10" vs 12" นั้นสามารถสร้างความดังของเสียงที่แตกต่างกัน 2-3 db. ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากเมื่อเราพูดถึง 2-3db.ของความถี่ต่ำ

- ติดตั้งชนิดของผนังที่เหมาะสม (Diaphramatic, Membrane & Helmholtz) ทั้งชนิดและปริมาณรวมทั้งตำแหน่งที่ใช้ภายในห้อง ไม่ว่าจะออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของผนังหรือใช้เป็นลักษณะ free standing

- ให้ความสำคัญกับตำแหน่งที่เราจะติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้น (สำคัญมาก) การติดตั้งณตำแหน่งที่ถูกต้องเท่านั้นถึงจะทำให้เราสามารถจัดการกับปัญหาความถี่ต่ำนั้นได้ ซึ่งตำแหน่งที่จะติดตั้งต้องอาศัยการคำนวณและเครื่องมือเฉพาะมาทำการตรวจวัดที่ความถี่ต่างๆกัน

Call 

081-869-8200

Follow

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
bottom of page