EP7: อย่าเพิ่งทำโฮมเธียเตอร์ถ้ายังไม่ได้อ่าน...
ตอบ: ก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือหรือตัดสินใจสร้างห้องแห่งความสุข "โฮมเธียเตอร์"ขึ้นภายในบ้านนั้น ข้อมูลจากนี้จะเป็นแนวทางการทำงานที่จะทำให้ง่ายขึ้นและถูกต้องก่อนการลงมือทำและตรวจสอบ ซึ่งจะขออธิบายและเรียงลำดับเป็นข้อๆตามสำดับก่อนหลังดังนี้
- Locate your best seating: คุณต้องหาหรือกำหนดตำแหน่งที่คุณต้องการให้เป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดในห้อง หรือเป็นตำแหน่งหลักที่คุณจะใช้ในการนั่งชมภาพยนต์ (ทั้งจุดตำแหน่งและระดับความสูงจากพื้น แนวแกน XYZ) ซึ่งณ.จุดนี้เราจะใช้เป็นจุดอ้างอิงในการออกแบบต่อไปทั้งในด้าน Acoustic design ตำแหน่ง,ขนาดและชนิดของจอภาพที่เหมาะสม รวมทั้งชนิดและตำแหน่งการติดตั้งระบบลำโพงภายในห้อง ชนิดและขนาดของระบบภาพ (Projector) เพื่อให้ทั้งหมดนั้นสอดคล้องและสามารถนำพาท่านเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ของภาพยนต์ที่นั่งชม (you are there) หรือปัจจุบันที่เราจะมีระบบเสียงที่สร้าง immersive sound ให้คุณสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็น Dolby atmos, dts x
- Determine the screen size: (ขนาดของจอภาพ) เมื่อเรากำหนดตำแหน่ง king seat แล้วจากนี้เราก็จะสามารถกำหนดเลือกขนาดของจอที่เหมาะสมได้ โดยรายละเอียดในการเลือกชนิดและขนาดจอนั้น เราสามารถแยกย่อยได้ดังนี้
- Screen size หัวข้อนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งชนิดของโค้งและจอแบน โดยที่ขนาดของจอที่เหมาะสมที่ได้นั้น จากตำแหน่งที่นั่งชมเราจะต้องไม่เห็น pixels ของภาพ หรือต้องไม่มีการส่ายหน้าไปมาหรือขยับหัวขึ้นลงขณะชมภาพยนต์ โดยมามาตราฐานใหญ่ๆที่ใช้กันทั่วไปจะมีจากสองค่ายใหญ่ๆคือ SMPTE และ THX
- SMPTE(The Society of Motion Picture and Television Engineer) กำหนดว่ามาตราฐานมุมมองที่เหมาะสมจากตำแหน่งนั่งจะมีค่าเท่ากับ 30 degree.
- THX (มาตราฐานที่กำหนดขึ้นโดยบริษัทอเมริการัฐ San Franciscoในปี 1983 ผู้ก่อตั้งชื่อ George Lucas)กำหนดว่ามาตราฐานมุมมองที่เหมาะสมจากตำแหน่งนั่งจะมีค่าเท่ากับ 40 degree.
มุมในแนวตั้ง "Vertical viewing angle" กำหนดว่ามาตราฐานมุมมองที่เหมาะสมจากตำแหน่งนั่งจะมีค่าเท่ากับ 10-20 degree
Choosing aspect ratio (สัดส่วนจอ) สัดส่วนจอที่นิยมใช้หลักๆจะมี 2แบบคือ 16:9 และ 2.35:1 ทั้งสองแบบนี้จะเลือกแบบไหนนั้นขึ้นกับลักษณะของการใช้งานเป็นหลัก ถ้าส่วนใหญ่ถ้าดูภาพยนต์เป็นหลัก จอสัดส่วน 2.35:1 จะเหมาะสม ในขณะที่ถ้าดู ข่าวสารTVเป็นส่วนใหญ่ 16:9 จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะเลือกอันไหนไว้สำหรับใช้งานที่หลากหลาย 16:9 น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยมากกว่า.
- Projector ค่าคุณสมบัติต่างของแต่ละเครื่องที่สำคัญ เพื่อศึกษาและนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ
- ANSI Lumens เป็นตัวเลขบ่งชี้ค่าความสามารถในการให้แสงสว่าง โดยเฉพาะหากห้องโฮมเธียเตอร์เราไม่ในอยู่ในห้องที่มืดสนิท ค่าความสว่างของเครื่องต้องเพียงพอที่สู้กับแสงสว่างโดยรอบได้ (ambiance light). โดยให้ดูด้วยว่าค่า lumens ของเครื่องนั้นต้องอ้างอิง ANSI (American National Standard Institute) เท่านั้น
- Color Brightness โดยเครื่อง Projector ที่ได้มาตราฐานจะกำหนดค่า color brightness ของเครื่องนั้นไว้ด้วย ซี่งเครื่องที่ดีจะให้ความเข้มของสีคุณภาพสีของภาพที่ดี
- Contrast ratio จะเป็นค่าบ่งชี้ค่ามืดสุดของภาพเทียบค่าสว่างของภาพ โดยยิ่งมีค่ามากเหมือนถึงเครื่องนั้นจะให้ค่า contrast ของภาพที่ดีด้วย ตย: contrast ratio 3000:1 หมายถึง projector เครื่องนั้นมีความารถสร้างสีขาวได้สว่างกว่าสีดำ 3000 เท่า
- Lighting ระบบแสงสว่างภายในห้อง ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังดังนี้
1.ไฟทุกดวงภายในห้องโฮมเธียเตอร์ต้องเป็นแบบที่สามารถปรับลดระดับความสว่างของแสงได้ (Dimmable)
2. ไม่ควรติดตั้งไฟแสงสว่างบริเวณหน้าจอภาพ (Screen)
3. ควรติดตั้งไฟแสงสว่างบริเวณขั้นบันไดภายในห้อง เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุสะดุดล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะความสว่างภายในห้องไม่เพียงพอ
- Bass traps: EP9
- Acoustic treatment & Soundproofing: EP 10
- Subwoofers: EP11
- Surround sound: EP12
.....to be continued.