top of page

EP29: ติดตั้ง Acoustic Panel อย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด.?

วันนี้เราจะมาคุยเรื่องการติดตั้ง Acoustic Panel เกี่ยวกับหัวข้อที่ว่า ในการติดตั้งเราควรมีระยะห่างจากผนัง (Airgap) หรือไม่อย่างไร หรือหากมีจะเว้นระยะเท่าไร? หรือควรติดกับผนังเลยโดยไม่เว้นช่องว่าง เพราะหลายๆครั้งคำแนะนำที่พูดกันคือเราควรเว้น Airgap ระหว่างผนังกับแผ่น Acoustic panel ด้วยเหตุผลที่ว่าการที่เราสร้างให้มีช่องระหว่าง Acoustic panel กับผนังจะทำให้เป็นเพิ่มประสิทธิภาพของ Acoustic panel นั้นในการที่จะเพิ่มความสามารถในการดูดซับความถี่ช่วงกลางและช่วงความถี่ต่ำได้มากขึ้น ซึ่งหากตอบโดยรวมๆคำตอบคือว่าใช่เราควรเพิ่มหรือปล่อยให้มี Airgap ระหว่างผนังกับ Acoustic panel แต่มีข้อควรระวังอย่างหนึ่งที่เราต้องพิจารณาและระวัง โดยเรามาเริ่มด้วยการทำความเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเพิ่มช่องว่างอากาศด้านหลัง Acoustic panel โดยจากภาพทั้ง 3 รูป เราสามารถสรุปปรากฎการณ์ดังกล่าวได้ดังนี้

- เมื่อเราเพิ่มความหนาของ Panel เราก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับความถี่ต่ำได้ลึกมากยิ่งขึ้น ยิ่งหนามากความสามารถในการดูดซับความถี่ต่ำก็จะยิ่งขึ้นด้วย

- และเมื่อเราเพิ่ม airgap ระหว่าง panel กับผนัง สิ่งที่ตามมานอกจากเราจะสามารถที่จะดูดซับความมถี่ต่ำได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันจะเกิดการลดลงของประสิทธิภาพการดูดซับของความถี่ช่วงกลาง และจะยิ่งลดลงมากขึ้น ตามรูปที่ 2, 3, 4

- แล้วคำถามที่ว่าขนาดความลึกเท่าไรที่เหมาะสม หากจะตอบโดยคร่าวๆก็คือเท่ากับหรือน้อยกว่าค่าความหนาของวัสดุซับเสียงที่เราใช้ หากความหนาของวัสดุซับเสียงเท่ากับ 2 นิ้วค่าความลึกของ airgap ก็ไม่ควรมากกว่า 2นิ้วด้วย

- โดยรวมค่าความลึกของ Airgap ที่เราเพิ่มเข้าไปในการติดตั้งจะทำหน้าที่เสมือนหรือใกล้เคียงกับค่าการดูดซับความถี่ต่ำที่ได้เมื่อเราเพิ่มความหนาของวัสดุซับเสียงนั้น

ซึ่งหากเราจะขยายความถึงสาเหตุและเหตุผลของปรากฏการณ์ดังกล่าว เราจะกล่าวถึงเหตุผลได้ว่า ความถี่ต่ำที่มีความยาวคลื่นมากเมื่อกระทบแกนวัสดุซับเสียงที่จุดสูงสุดของคลื่นความเร็วของมัน ซึ่งวัสดุซับเสียงประเภทรูพรุนที่นำมาใช้จะไม่สามารถดูดซับ Sound Pressure แต่มันจะทำหน้าที่ดูดซับหรือลดความเร็ว Sound Velocityของคลื่นเสียงลง ดังนั้นที่หนึ่งในสี่ของความยาวคลื่น คุณจะมีความเร็วเสียงสูงสุดในคลื่นนั้น และถ้าบริเวณพื้นที่นั้นของคลื่นเสียงตกพอดีอยู่ภายในตัวดูดซับเสียง คลื่นเสียงนั้นถูกดูดซับได้ดีและถูกดูดซับอย่างเหมาะสม แต่หากว่าความหนาของวัสดุซับเสียงนั้นมีความหนาไม่มากเมื่อเทียบกับช่องว่างอากาศ เราจะพบว่าความยาวคลื่นของความถี่สูงซึ่งสั้นมากเมื่อเทียบกับที่ได้เคลื่อนผ่านจุดความยาวคลื่นในสี่ส่วน และบางทีแผ่นวัสดุฉนวนนั้นตอนนี้จะอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น ซึ่งไม่มีความเร็วเสียงในคลื่นเสียงนั้น ดังนั้นเราจึงได้รับการดูดซับความถี่ต่ำ แต่มันจะไม่อยู่ในจุดที่ถูกต้องเพื่อดูดซับความถี่กลางด้วยซึ่งความยาวคลื่นสั้นกว่า

และนั่นคือสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่องว่างอากาศ คุณจะได้ประโยชน์จากการเพิ่มความถี่ต่ำ การดูดซับความถี่ แต่ถ้าคุณทำให้ช่องว่างอากาศใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับความหนาของวัสดุซับเสียง คุณจะเริ่มเห็นการดูดซับที่ลดลงในช่วงความถี่เสียงกลางดังกล่าว

ปล: สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ: Master Handbook of Acoustics. https://amzn.to/3i71CWI

Call 

081-869-8200

Follow

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
bottom of page