EP22: DESIGN, BUILD AND BENEFITS THX BAFFLE WALL
THX BAFFLE WALL: ในปัจจุบันการออกแบบห้อง HomeTheater มีความสวยงาม เรียบร้อยและมีคุณภาพในด้านการตอบสนองทางด้านเสียงตลอดทุกช่วงความถี่ที่ filmakers และ sound designers ได้ออกแบบไว้ บางครั้งเราจะพบว่าบางห้องได้ถูกออกแบบไว้อย่างสวยงามโดยที่เราเข้าไปในห้องดังกล่าว เราจะไม่เห็นลำโพงใดๆที่ติดตั้งบนผนังหรือวางบนพื้นให้เกะกะสายตา ลำโพงทุกชิ้นจะถูกซ่อนไว้ภายในผนัง(Faux-Wall) หรือหลังจอภาพยนต์อย่างเรียบร้อยสวยงาม และด้วยความเป็นผู้นำในด้านมาตราฐานภาพยนต์ THX จึงได้วางมาตราฐานการออกแบบ การติดผนังที่เรียกว่า THX BAFFLE WALL สำหรับติดตั้งลำโพงหลักทางด้านหน้า หรือรวมทั้งลำ Subwoofer ไว้อยู่ภายหลังจอ AT.(Acoustic Transparent) และส่งผ่านคุณภาพที่ได้มาตราฐานไปยังผู้ชมหรือผู้รับฟังได้อย่างถึง และสมบูรณ์ในทุกๆตำแหน่งของจุดนั่งฟัง
THX CERTIFIED THEATER ข้อกำหนดหนึ่งในการที่จะได้มาตราฐาน "THX Certified Theater" ผนังด้านหน้าหลังจอจะต้องเป็น Baffle Wall โดยลำโพงจะถูกติดตั้งบนชั้นที่มั่นคงแข็งแรงรองรับการสั่นสะเทือนขณะมีการขยับตัวของดอกลำโพง และผนังทั้งหมดจะต้องติดตั้ง Acoustic absorbers ทั้งหมดของผนัง ซึ่งจะเป็นการป้องกันการเกิด Reflection และ Crosstalk ที่เกิดขึ้นระหว่างลำโพง รวมทั้งช่วยลดการสะท้อนของที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนไปมาระหว่างด้านหน้าและผนังด้านหลังห้องอีกด้วย ซึ่งจะทำให้เกิด Clearity ของเสียงจากลำโพงด้านหน้าที่ดีขึ้น และหากจะส่วนประกอบหลักของ Baffle Wall ที่ถูกต้องจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ
- MASS
- FLUSHNESS
- ISOLATION
How we design and build baffle walls
วิธีการสร้างผนัง Baffle Walls ตามมาตราฐาน THX Baffle wall นี้เราอาจจะสร้างขึ้น ด้วยการทดแทนผนังเดิม หรือสร้างขึ้นมาใหม่ซ้อนกับผนังเดิมที่มีอยู่ โดยลำโพงที่นำมาติดตั้งจะอยู่ในลักษณะที่ไม่ได้ยึดติดกับผนังเดิมโดยตรง ทั้งนี้คุณประโยชน์โดยตรงของ Baffle wall นี้จะไม่ทำให้เกิด Low-frequency Headroom อีกทั้งช่วยลดปัญหาที่ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลด ระดับเสียงอันเนื่องมาจากผนังโดยรอบหรือที่เราเรียกว่า SBIR (Speaker boundary interference response)
ขั้นตอนทำ THX Baffle Wall เราสามารถแยกได้เป็นหัวข้อและขั้นตอนการทำได้ดังนี้
- Speakers Selection: ลำดับแรกคือเลือกลำโพงที่เราจะนำมาติดตั้ง ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อและระดับราคา ซึ่งทาง THX แนะนำให้เลือกในกลุ่มที่ทาง THX ได้ทำการทดลองและรับรองมาตราฐานคุณภาพแล้ว "THX reference level 105db peak" เป็นลำดับแรก หรือศึกษาจากผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สามารถและถูกออกแบบให้ติดตั้งบนผนัง Baffle wall(ในปัจจุบันมีหลายยี่ห้อ)
- Speakers Lateral Layout: ลำดับถัดไปหลังจากได้ลำโพงที่จะติดตั้งแล้ว เราจะกำหนดจุดหรือตำแหน่งที่จะติดตั้งบน Baffle wall โดยมีทิศทางการทำมุมของลำโพงทั้งสาม LCR อยู่ระหว่าง 45-60 องศา โดยที่ลำโพง LCR ทั้งหมดจะต้องถูกติดตั้งอยู่ภายในพื้นที่ภายในจอภาพ( AT: Acoustical Transparent Screen)
- Subwoofer Selection/Layout: มาตราฐานชนิดของ Subwoofer ที่ THXกำหนดคือจะต้องมี Reference level bass (115db peaks) ซึ่งมาตราฐาน THX Subwoofer จะมีค่าสูงกว่าลำโพงตัวอื่นๆอยู่มากกว่า 10db โดยที่มาตราฐานที่กำหนดนี้นั้นจะกำหนดค่าของ SPL(Sound Pressure Level) ณจุดตำแหน่งนั่งฟังภายในห้อง ซึ่งด้วยเหตุผลนี้ การออกแบบ acoustics ห้องที่ดีและการปรับตั้งที่ถูกต้องในส่วนของลำโพง Subwoofer จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งโดยทั่วไปเราจะติดตั้งลำโพง Subwoofer ไว้ทางด้านหน้า บน Baffle wall หลังจอภาพจำนวน 2 หรือ 4ตัว
- Screen Selection/ Speakers Vertical Location: ขนาดจอภาพที่จะทำการติดตั้ง รวมทั้งระยะความสูงที่เหมาะสมจากระดับความสูงจากพื้น ซึ่งขนาดและระดับความสูงของจอจะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งการติดตั้งที่เหมาะสมของลำโพง LCR ซึ่งมาตราฐานระดับมุมความสูงของจอภาพจะต้องไม่มากกว่า 15องศาที่ตำแหน่งนั่ง เมื่อเราได้ตำแหน่งของจอภาพแล้ว ถัดไปเราจะกำหนดตำแหน่ง LCR ให้สัมพันธ์กับตำแหน่งจอ โดยที่ความสูงของลำโพง จะอยู่ระหว่าง 1/2 ถึง 5/8 ของความสูงจอภาพ
- Baffle Wall Design: หลังจากเมื่อเราทราบตำแหน่ง ขนาดและน้ำหนักของลำโพงที่จะใช้ทำการติดตั้ง เราก็จะสามารถกำหนดขนาดและแบบของโครงสร้างที่จะทำการติดตั้ง พร้อมทั้งช่วง clearance ที่เหมาะสมแต่ละจุดของแต่ละลำโพง โดยโครงสร้างเหล่านั้นจะต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถรองรับ การสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นของแต่ละตัวได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำโพง Subwoofers ที่มีขนาดและน้ำหนักมากกว่าลำโพงตัวอื่นๆในระบบ
- Baffle Wall Build: โครงสร้างของผนังที่สร้างขึ้นจะต้องมั่นคงแข็งแรง ไม่มีช่องว่างระหว่างผนังใหม่กับผนังเดิม ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการสั่นของโครงสร้าง และอาจทำให้เกิดปัญหาด้าน resonance ตามมาซึ่งจะเป็นการยากที่ทำการแก้ไขในภายหลังจากที่ผนังและอุปกรณ์ถูกติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
- Baffle Wall Finishing: วัสดุที่สามารถนำมาปิดผิวหน้างานขั้นสุดท้าย อาจจะเลือกเป็นวิธีการทาสี ติดตั้งวัดุซับเสียงหรือเป็น Fabric โดยทั้งหมดนี้ควรมีสีเข้มและมีผิวด้านไม่เป็นเงาและสะท้อนแสง เพื่อเป็นการป้องไม่ได้เกิดการรบกวนของแสงบนจอภาพขณะทำการชมภาพยนต์
หวังว่าคงพอได้แนวทางในการทำ THX Baffle Wall แล้วนะครับ ขอให้มีความสุขในการดูหนังฟังเพลงในห้องโปรดของคุณ พบบทความ HomeTheater & Listening Room Acoustics ทุกวันจันทร์เวลา 08:00น.
ปล: สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ "Master Handbook of Acoustics": https://amzn.to/3i71CWI