top of page

EP14: SOUND PROOFING MAT. TYPE & POSITION.

TYPES OF SOUND-PROOFING MATERIALS:

Acoustic Proofing ชนิดต่างๆของวัสดุที่ใช้ซับเสียงภายในห้องดูหนังฟังเพลง หากเราจะแบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆตามชนิดและการใช้งานของวัสดุที่ใช้จะแบ่งได้ดังนี้

- Acoustic Foam

- Sound Insulation

- Acoustic Panels

- Acoustic Fabrics

- Acoustic Coating

- Floor Underlayment

- Architectural Soundproofing

Acoustic Foam: มีชื่อเรียกทางการค้าอีกอย่างหนึ่งว่า โฟมห้องอัด/บันทึกเสียง (Studio Foam) ทำด้วยฟองน้ำเนื้อเบามีปลายยอดแหลมเหมือนปิรามิดหลายยอดมาประกอบกัน ใช้นำมาติดผนังด้านข้าง, หลังหรือฝ้า ใช้ควบคุมหรือดูดซับเสียงในช่วงความถี่กลางและความถี่สูงได้ดี และมีราคาถูก

Sound Insulation: ฉนวนเสียงชนิดนี้ทำมาจากวัสดุที่เรียกว่า Rock Wool, Mineral Wool, Fiber Glass ที่มีความหนาแน่นของเนื้อวัสดุที่แตกต่างกัน โดยที่เราต้องเลือกชนิดของความหนาแน่นที่เหมาะสมกับานที่จะนำไปใช้ โดยเราจะนำไปใช้ติดตั้งในช่องว่างระหว่างผนังดังรูป มีความสามารถดูดซับเสียงในช่วงความถี่ที่กว้างมากกว่า Acoustic Foam แต่ต้องระมัดระวังอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการนำ Fiber Glassมาใช้งานเพราะจะมีอันตรายต่อสุขภาพ

Acoustic Panels/Boards: ผนังสำเร็จรูปที่สามารถนำมาตกแต่งเพื่อความสวยงามภายในห้อง สามารถที่จะเลือกเนื้อผ้าหรือสีวัสดุที่ใช้เพื่อใช้เข้ากับบรรยากาศภายในห้องได้อีกด้วย และยังทำหน้าที่ใช้ในการดูดซับและควบคุมเสียงได้ดี แต่ความสามารถจะควบคุมได้ช่วงความถี่กลางและความถี่สูงเท่านั้น

Acoustic Fabrics: ผ้าม่านอคูสติกชนิดนี้จะมีขนาด, ความหนาและน้ำหนักที่มากกว่าผ้าม่านโดยท่วไปมาก จึงสามารถนำไปตกแต่งเพื่อดูดซับพลังงานความถี่ต่างๆได้ โดยเฉพาะช่วงความถี่เสียงกลางและความถี่สูง

Acoustic Coating: สีอคูสติกที่ใช้สำหรับทาภายในห้อง โดยเนื้อสีจะมีความหนาและสามารถสร้างผิวขรุขระของเนื้อสีที่มีผิวหยาบ ช่วยให้เกิดการดูดซับและสะท้อนเสียงช่วงความถี่ต่างๆ

Floor Underlayment: ยางแผ่นรองใต้พรมหรือพื้นไม้สำเร็จรูป ทำหน้าที่รองรับการสั่นสะเทื่อนของพื้นโดยเฉพาะช่วงความถี่ต่ำ และยังสามารถใช้ป้องกันเสียงออกสู่ภายนอก หรือเข้ามาจากภายนอกได้ดี

Architectural Soundproofing: อุปกรณ์ป้องกันเสียงรวมถึงหน้าต่าง ผนังห้องหรือประตูห้องที่สร้างและออกแบบมาเฉพาะเพื่อประกันเสียงจากภายนอก หรือเสียงจากภายในออกสู่ภายนอก

Acoustic Treatment: Type & Positions

ชนิดและวิธีการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์วิธีการใช้แก้ไขปัญหาห้องฟัง

วัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้แก้ปัญหาจะแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆได้ สองประเภท

- Absorption: Low, Middle, High

- Diffusion: Mids & Highs

ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีจุดประสงค์และวิธีในการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยวัสดุอุปกรณ์ประเภท Absorption จะสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาช่วงความถี่ต่ำ, กลางและสูงได้ทั้งหมด ในขณะที่อุปกรณ์ในกลุ่ม Diffusion จะนำไปใช้แก้ปัญหาในช่วงของความถี่กลางและความถี่สูง แต่หากถามว่าเราสามารถใช้ Diffuser ไปแก้ปัญหาในช่วงความถี่ต่ำได้หรือไม่?

คำตอบคือสามารถทำได้แต่ต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับช่วงความถี่นั้นๆที่เราจะนำไปใช้แก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น: หากเราต้องการนำ Diffuser ไปแก้ปัญหาช่วงความถี่ 100Hz ขนาดความลึกของ Diffuser ต้องมีความลึกอย่างน้อย 36 นิ้วซึ่งขนาดและความลึกนี้อาจไม่สะดวกในการติดตั้งในห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่หากสามารถติดตั้งได้ ก็จะส่งผลลัพท์ที่ดีกว่าการใช้ Absorptionในการปัญหาช่วงความถี่นั้นๆ

และอีกอย่างหนึ่งที่ต้องทราบคือ การเคลื่อนของความถี่ต่ำจะเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นคลื่น (Wave energy) กระจายออกโดยรอบของแหล่งกำเนิด ในขณะที่ช่วงความถี่กลางและความถี่สูงจะเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นเส้นตรง (Ray energy) จากแหล่งกำเนิด ดังนั้นโดยสรุปการแก้ปัญหาเสียงภายในห้องโดยใช้อุปกรณ์ทั้งประเภท Absorption และ Diffuser จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหานั้น และเราสามารถปรับปรุงและลดทอนปัญหาให้ลดน้องลงได้แต่ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาเหล่านั้นให้หมดไปทั้งหมดได้ (we can minimize but can not eliminate).

Call 

081-869-8200

Follow

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
bottom of page